รูปแบบของปุ่มกด Steam Controller

 

ครั้งแรกที่ได้เห็น และ ได้สัมผัสกับ Steam Controller บอกได้เลยว่าความสามารถของมันนั้นเยอะมาก ๆ เมื่อเทียบกับรูปแบบของปุ่ม ที่เราจะตั้งค่าได้แล้ว และ รูปแบบของการตั้งค่าปุ่มกดนั้น สามารถให้เราผสมผสาน ออกแบบ เพื่อการใช้งานได้อย่างลงตัวที่สุด คุณสามารถตั้งค่า Trackpads ( แป้นสัมผัส ) ให้ทำงานแทนแกนโยกแบบอนาล็อก หรือ เม้าส์ , หรือ เปลี่ยนโหมดไปเป็นแบบปุ่มกดก็ได้ บางครั้ง คุณสามารถเปิดเมนูการตั้งค่าขึ้นมา แล้วตั้งค่าได้อย่างสนุกสนานมากมาย เช่น ตั้งค่าการใช้งานแกนอนาล็อก ให้เลียนแบบการทำงานของเม้าส์ หรือ ปุ่ม A B X Y ก็สามารถใช้งานได้อย่างหลายหลาย

การทดสอบถือเป็นปัจจัยสำคัญ  บางทีคุณสามารถตั้งค่ารูปแบบการใช้งานของตัว Steam Controller  ตามใจคุณเอง อาจจะตั้งค่าให้แหวกแนวหลุดโลกก็ได้ เพื่อความสนุกสนานในการเล่นเกมส์ต่าง ๆ เมื่อได้ทำการตั้งค่ารูปแบบปุ่มกดแบบใหม่แล้ว ชื่อของรูปแบบนั้น จะแสดงผลอยู่ใต้รูปแบบของคุณ คุณจะต้องอยากรู้ความหมาย แต่ละประเภทของมันแน่นอน เอาล่ะ ไปดูกันเลย

 

Button Pad

 

Button Pad เป็นรูปแบบการตั้งค่าของปุ่มกด ที่เข้าใจง่ายที่สุดที่ตัว Steam Controller นั้นมี การทำงานเบื้องต้นของมัน จะเหมือนกับการที่เรากดปุ่ม A B X Y บน จอย ทั่ว ๆ ไป  ถ้าเซ็ตให้เป็นปุ่มกดแบบ A B X Y ปกติ คุณก็จะรู้สึกเหมือนได้กดปุ่มแบบปกติเลย เมื่อกดที่ตัว Trackpads ( แป้นสัมผัส )  โดยตัวแทร็คแพดนั้น มีลักษณะเป็นวงกลม ให้เรามองมัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วน จะทำหน้าที่แทนปุ่ม A B X Y เมื่อคุณตัดสินใจใช้งานแล้ว ให้เปิดใช้งาน ” Click Required ” มันจะใช้งานได้ดีในบางเกมส์ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมรูปแบบนี้ถึงน่าใช้งาน

 

Mouse

 

รูปแบบการตั้งค่านี้จะช่วยให้ Trackpads ( แป้นสัมผัส )  ของ Steam Controller ทำงานได้เหมือนกับเม้าส์จริง ๆ หลังจากที่ได้ทดลองใช้รูปแบบนี้แล้ว คุณจะต้องบอกเลยว่านี่มันเม้าส์ชัด ๆ  และ มันจะง่ายมาก เมื่อคุณเล่นเกมส์ที่ต้องใช้เม้าส์เป็นหลัก โดยเราจะใช้แทร็คแพดด้านขวาแทน แต่อาจจะมีปัญหาอยู่บ้างในบางเกมส์ ที่ไม่รองรับการใช้งานอนาล็อก และ เม้าส์ พร้อมกัน ( อนาคตอาจจะมีการปรับปรุงแก้ไขตรงจุดนี้ )

 

Joystick Move ( JMove )

 

Joystick Move คือ รูปแบบเบื้องต้นของการใช้จอยสติ๊กบน Steam Controller ในโหมดนี้ จะทำให้คุณใช้งานแทร็คแพด ได้เหมือนกับเรากดจอยสติ๊กด้วยนิ้วของคุณ โดยการลากนิ้วไปตามแทร็คแพดด้วยทิศทางต่าง ๆ เช่น ลากไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง ก็จะเหมือนเราใช้จอยสติ๊กโยกไปทางนั้นนั่นเอง

แค่ชื่อรูปแบบที่เกริ่นมา ยังดูไม่ถึงใจพอ เราสามาถตั้งค่าให้แทร็คแพด ทั้ง 2 ข้าง ทำงานเป็นจอยสติ๊กทั้งคู่เลยก็ได้ ทั้งซ้าย และ ขวา ก็เป็นจอยสติ๊ก เอาไว้สนุกกับเกมส์ยิงที่ต้องใช้จอยสติ๊กแบบคู่

 

Joystick Camera ( JCamera )

 

ในโหมดนี้ใช้ความแม่นยำของ Trackpads ( แป้นสัมผัส ) สูง ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของโหมดนี้คือ คุณต้องวางนิ้วเอาไว้ตรงกลางของแทร็คแพดเท่านั้น เพราะว่าในโหมดนี้ คุณจะต้องลากนิ้วจากจุดศูนย์กลางของแทร็คแพด ไปในทิศทางต่าง ๆ ถ้านิ้วเราไม่ได้สัมผัสกับจุดศูนย์กลางของแทร็คแพด ก่อนที่เราจะลากนิ้วไปในทิศทางต่าง ๆ มันก็จะไร้ผล

JCamera มีจุดที่แตกต่างจาก JMove  ในการใช้งานบางเกมส์ ยกตัวอย่างเช่น เกมส์แอคชั่นมุมมองบุคคลที่สาม แบบเกมส์ Remember Me เกมส์นี้คือตัวอย่างที่ดีในการใช้จอยสติ๊กด้านขวา เพื่อปรับเปลี่ยนมุมกล้องในเกมส์ และ ความถูกต้องแม่นยำต่าง ๆ โดยความเร็วไม่มีผลกระทบ ในการเปลี่ยนมุมกล้อง

 

Steam Controller ใช้งาน Mouse Joystick

 

Mouse Joystick ( JMouse )

 

ความคิดนี้เป็นรูปแบบที่ดีเยี่ยม ทำให้การทำงานของ Trackpads ( แป้นสัมผัส ) เหมือนเราใช้เม้าส์ในฟังก์ชั่นพื้นฐาน ในขณะที่เรายังใช้งานจอย โดยโยกขวาไปพร้อมกันได้ ประโยชน์อย่างใหญ่หลวงของมัน คือ มีหลายเกมส์ที่ใช้งานระบบนี้ ถึงแม้คุณไม่สามารถใช้แทร็คแพดด้านขวาเป็นเม้าส์จริง ๆ ได้ แต่ยังสามารถใช้การตั้งค่าส่วนอื่นของจอยได้อยู่ ซึ่งหมายความว่า ถึงแม้คุณจะสูญเสียการบังคับ คุณก็ยังสามารถตั้งค่าให้ Steam Controller ทำงานแทน คีย์บอร์ด และ เม้าส์ ได้ เกมส์แรก ๆ ที่ใช้งานระบบนี้ ได้แก่ Fallout 4 และ Skyrim ของค่าย Bethesda

ข้อจำกัดของ JMouse คือ มันเป็นการจำลองอุปกรณ์เม้าส์ ซึ่งไม่สามารถใช้งานที่ความเร็วสูงสุดของเม้าส์จริง ๆ ได้ ในกรณีของการเล่นเกมส์ คุณสามารถเข้าไปปรับตั้งค่าความไวของอุปกรณ์ในตัวเกมส์ได้ แต่มันก็ยังมีจุดเดธโซน ( พื้นที่ว่างที่ไม่มีผลต่อการควบคุม ) เหมือนกับการใช้จอยสติ๊กทั่ว ๆ ไป ซึ่งมันจะมีผลกระทบในการปรับแต่ง การเล็งโดยไม่สนใจเรื่องความเร็วขั้นต่ำ ซึ่งการปรับแต่งค่าที่ถูกต้อง และ เหมาะสมจะช่วยลดปัญหานี้ โดยให้เราเข้าไปปรับที่ minimum joystick X/Y output value และ minimum movement threshold แต่ถ้าเกมส์ไหน ไม่มีให้เราปรับตั้งค่าพวกนี้ ก็แปลว่าคุณทำอะไรไม่ได้แล้ว

กระบวนการควบคุมนี้ ใช้กับเกมส์ที่ไม่รองรับ Steam Controller ถ้าคุณต้องการที่จะใช้งานอนาล็อกด้านซ้ายจริง ๆ แล้วล่ะก็ นั่นหมายถึงคุณได้ยอมแพ้ให้กับระบบเม้าส์บนแทร็คแพด แล้วล่ะ

 

Directional Pad

 

ในโหมดนี้ คุณจะต้องตั้งค่าปุ่มทิศทางหลักทั้ง 4 ปุ่ม ซึ่งรูปแบบนี้จะแตกต่างจากรูปแบบก่อนหน้า Button Pad พอสมควร เพราะมันจะมีการซ้อนทับกัน ระหว่างปุ่มสองปุ่มของมันเอง ในการกดหนึ่งครั้ง ซึ่งมันจะง่าย และ รวดเร็วขึ้น หรือ พูดให้เข้าใจก็คือ การกดปุ่มแบบทแยงนั่นเอง ซึ่งความคิดของโหมดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทิศทางในเกมส์ 2D หรือ ปัญหาการใช้งานปุ่มทิศทาง W A S D บนคีย์บอร์ด จุดนี้ทำให้มีการแก้ไขโดยการแบ่งปุ่มกด D-Pad ให้แตกต่างกันนั่นเอง

ปกติแล้ว การใช้งานปุ่ม W A S D เพื่อการเคลื่อนไหว รัศมีการทับซ้อนจะถูกนำมาใช้งาน และ การซ้อนทับนั้นจะถูกนำออก เพื่อแบ่งพื้นที่ระหว่างแต่ละปุ่ม ให้ลองจินตนาการถึงพาย 4 ชิ้น ถูกตัดแบ่งเท่า ๆ กัน เป็นตัว X เมื่อเรามองลงไปที่ Trackpads ( แป้นสัมผัส ) ตรงเส้นนั้นหละคือ รัศมีการทับซ้อน โดยในแทร็คแพดอาจจะทำเป็นจุดเล็ก ๆ ไว้ให้เรากด เมื่อต้องการกดในทิศทางที่ทับซ้อน หรือ ทแยงมุม เราก็ไม่ต้องกดสองปุ่มทิศทางพร้อมกัน แบบจอยสมัยก่อน แต่สามารถกดไปที่แทร็คแพดด้านทแยงมุมได้เลย

คุณสามารถคิดง่าย ๆ ได้ว่า การจำลองอนาล็อก คือ การกดปุ่ม ยกตัวอย่างเช่น ปุ่มเดินหน้า W จะเคลื่อนที่เร็ว หรือ เร็วขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับการกดของนิ้วมือคุณ ในบางเกมส์ มันก็มีผลกระทบข้างเคียง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่แย่ ( เคยพยายามนำมาใช้ใน Skyrim ) โดยเฉพาะเกมส์เก่า ๆ แบบ Like Quake III  เราไม่จำเป็นต้องไปกังวลเรื่องการเคลื่อนไหว เพราะมันไม่ได้มีอะไรมาก จริง ๆ จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะบางเกมส์เท่านั้น ที่รองรับการทำงานของจอยสติ๊ก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการใช้งานแทร็คแพด และ อนาล็อกของ Steam Controller ในบางครั้ง เมื่อคุณตั้งค่าจอยดีแล้ว ก็ไม่ต้องไปกังวลอะไรทั้งนั้น

ยังมีอีกสองเรื่องที่สำคัญ ที่คุณจะต้องนึกถึงอีก คือ requires click และ ตัวเลือก dead zone ” Requires click ” หมายถึงการกดแทร็คแพดลงไป เพื่อใช้งานเป็นปุ่ม (คล้าย ๆ กับปุ่ม R3 ของ Playstation) ปกติมันจะถูกเปิดเอาไว้เสมอ แต่สำหรับการตั้งค่า W A S D ผู้ใช้งานพึงพอใจที่จะปิดเอาไว้มากกว่า มันก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่ละคน และ การตั้งค่า ต่อไปมาว่าที่ Dead Zone ความหมายของมันก็คือ บริเวณใด ๆ ก็ตามที่เมื่อเราสัมผัสแล้วจะไม่มีการตอบสนอง ส่วนมากจะมีขนาดเล็กมาก ๆ และ อยู่บน Trackpads ( แป้นสัมผัส )

 

Scroll Wheel

 

Scroll wheel เป็นโหมดที่มีประโยชน์มาก การตั้งค่าตามเดิมของมัน จะทำให้เราสามารถลากนิ้วไปตามเข็มนาฬิกา หรือ ทวนเข็มนาฬิกาบนแทร็คแพดเพื่อเปิดวงล้อ ในเมนู Swipe Direction คุณยังสามารถใช้แกนแนวตั้ง หรือ แนวนอนเพื่อเปิด Scroll wheel ทำให้ง่ายต่อการเลือกอาวุธต่อไป หรือ อาวุธก่อนหน้านี้ ในเกมส์

ประโยชน์สูงสุดของรูปแบบ Scroll wheel คือ สามารถตั้งค่าคำสั่งไปที่วงล้อได้ เหมือนกับการตั้งค่าอาวุธจากเลข 1 ไปจนถึงเลข 0 บนคีย์บอร์ด แต่พอเป็น Scroll wheel คุณสามารถหมุนได้ครบรอบเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น การใช้เป็น Quick slots สำหรับเวทย์มนต์ หรือ ชุดเกราะ หรือ เป็นช่องเก็บไอเท็มต่างๆ ในเกมส์ที่คุณเล่น

 

Touch Menu

 

 

Steam Controller ใช้งาน Touch Menu

 

Touch Menu เป็นคุณสมบัติที่น่าทึ่งมาก ปกติประโยชน์ของรูปแบบนี้คือ ให้คุณสัมผัสแทร็คแพดของคุณ เพื่อเปิดเมนูตัวอักษร หน้าต่างของ Steam จะปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอ ยังมีคีย์ลัดเพื่อเข้าถึง Touch Menu ได้ถึง 16 คำสั่ง ( อีก 2 คำสั่ง โดยไม่ใช้คำสั่ง Shift ) จะเป็นประโยชน์ในการสร้างคำสั่งลัดในเกมส์แอคชั่น RPG อย่าง Torchlight หรือ เกมส์ MMORPG อย่าง World of Warcraft ที่ไหนที่คุณจะสามารถใส่คำสั่งลัดเพื่อกดสกิลได้ แน่นอน ที่ Touch Menu ไงล่ะ

นอกจากนี้คุณยังสามารถปรับแต่งคุณลักษณะ และ หน้าตาของ Touch Menu ได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ สีของไอคอน ชื่อของปุ่มในเมนูของมันเอง โดยหลังจากที่ตัดสินใจได้ว่าคุณต้องการใช้งานกี่ปุ่ม จึงค่อยเลือกปุ่มเพื่อเริ่มการปรับแต่งค่า

 

Steam Controller Official Bindings

 

หน้าต่างของเม้าส์ คีย์บอร์ด และ ปุ่มกดที่เราคุ้นเคยก็จะโผล่ขึ้นมา ตอนนี้ที่ด้านขวาบนสัญลักษณ์วงกลมเพื่อเลือกไอคอนถัดไป ถ้ากดเลือกตรงนี้ จะเป็นการปรับแต่ง ค่าไอคอนที่เราทำการเลือก มันจะแสดงขึ้นมา เมื่อคุณเปิด Touch Menu สำหรับตัวอย่าง คุณสามารถตั้งค่ารูปแผ่นดิสก์ ให้เป็นคำสั่ง Quick save หรือ ตั้งค่าของ ในคลังอาวุธของเราเป็นรูปไอคอนต่าง ๆ ก็ย่อมได้

 

Steam Controller โชว์การใช้งาน Touch Menu

 

Mouse Region

 

รูปแบบ Mouse Region เอาไว้สำหรับคนที่เล่นเกมส์แนว MOBA , ARPG , หรือ MMORPG รูปแบบ Mouse Region จะมีพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับหน้าจอ และ แผนที่ เป็นอัตราส่วน 1 : 1  อยู่บนแทร็คแพด และ อนาล็อก ลองจินตนาการว่า คุณกำลังเล่นเกมส์ Sacred หรือ เกมส์อะไรก็ได้ที่คล้าย ๆ กัน คุณสามารถเคลื่อนไหวตัวละคร โดยการคลิ๊กไปที่จุดใดจุดหนึ่ง แล้วตัวละครของคุณจะเดินไปที่จุดนั้น แต่ถ้าคุณทำ Mouse Region ไว้ที่กลางหน้าจอแล้ว เวลาที่คุณสัมผัส Trackpads ( แป้นสัมผัส ) ตัวละครของคุณก็จะเดิน และ ให้คุณใช้นิ้วสัมผัสไปในทิศทางที่ต้องการ ตัวละครของคุณก็จะเดินไปในทิศทางนั้น จะให้ผลเหมือนกับการกดใช้อนาล็อก แต่ Mouse Region ใช้งานได้ดีกว่ามาก  อีกทั้งคุณยังสามารถปล่อยทัชแพดเพื่อเปิด Touch Menu แล้วใช้เวทย์มนต์ หรือ อะไรก็ตาม ที่ตั้งค่าคีย์ลัดเอาไว้ได้อีกด้วย

Mouse Regions ยังเป็นตัวเลือกที่มีประโยชน์ เมื่อใช้คู่กับ Touch Menu  ตัวอย่างเช่น ในเกมส์ Torchlight คุณควรลดขนาดแนวตั้งของ Mouse Regions และ ปรับขนาดในแนวนอน และ ตำแหน่งของพื้นที่ โดยที่คุณเลือก แผนที่ เป็นหลักในการวางลงไปในแทร็คแพด กรณีนี้ มันดูจะเป็นความคิดที่ดี ไม่ต้องมาคอยนั่งใช้เม้าส์คลิ๊ก แต่สามารถใช้แทร็คแพดได้เลย

 

Steam Controller โชว์การใช้งานรูปแบบ Mouse Region

 

รูปแบบของปุ่มกดตัวนี้นั้น ต้องการการปรับแต่งค่าที่ถูกต้อง โดยใช้ HUD ของ Steam Controller เพื่อปรับแต่งการแสดงผลของกราฟฟิก ก่อนที่จะทำการแก้ไข แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องการแสดงผลของ Windows  อินเตอร์เฟซ และ ตำแหน่งของ HUD ให้เราปิด Windows DPI เพื่อการสตรีมเกมส์ไปเล่นบนหน้าจอ

อีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงเวลาใช้ Mouse Regions คือ เรื่อง Resolution ( ความละเอียด ) ของเกมส์ และ การสตรีมที่แตกต่าง หรือ ถ้าเกมส์ไม่ได้ใช้ตำแหน่งของตัวชี้ ที่เป็นมาตรฐาน Mouse Regions จะใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเกมส์นั้นรองรับ ให้ใช้ตัวชี้ของฮาร์ดแวร์แทน

 

Gyros

 

Gyros ( เซ็นเซอร์ตรวจจับการหมุน ) คือ ความลับของ Steam Controller ยังคงจำเครื่องเล่นเกมส์รุ่นที่แล้วได้ใช่ไหม ที่ออกมาพร้อมกับจอยเกมส์ ที่มีระบบ Gyros แต่ก็พังไม่เป็นท่า แต่ว่าไม่ใช่สำหรับ Steam Controller ตัว Steam Controller นั้น มาพร้อมกับ Gyros ที่มีความแม่นยำสูงมาก และ ได้มีการทดสอบแล้ว พบว่ามันทนทานมาก ๆ

สิ่งที่จะเห็นผลจาก Gyros ได้ชัดที่สุดก็คือ ระบบการเล็ง ให้ลองคิดว่าคุณกำลังเล่นเกมส์ FPS ถ้าคุณตั้งค่าความไวของของจอยเอาไว้สูงมาก คุณก็อาจจะยิงเลยเหนือศัตรูขึ้นไป และ ทำให้ไม่สามารถยิงโดนหัวของศัตรูได้ แต่กลับกัน ถ้าคุณตั้งความไวของจอยเอาไว้ต่ำมาก คุณก็จะไม่สามารถหมุนตัวแบบ 180 องศาได้เร็วนัก ทำให้พลาดในการยิงศัตรู หรือ ยิงไม่โดนศัตรู

คราวนี้ลองจินตนาการดูใหม่ว่า คุณตั้งค่าความไวของจอยเอาไว้พอดี ไม่ช้า ไม่เร็ว จนเกินไป สามารถหัน 180 องศาได้ เมื่อนั้น Gyros จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และแม่นยำ ทำให้คุณไม่พลาดเป้าหมาย สามารถยิงเข้าหัวของศัตรูได้แม่นยำอย่างที่ต้องการ นั่นคือความสามารถของ Gyros หนึ่งในความสามารถของ Steam Controller ที่แทบจะไม่แตกต่างจากการเล็งยิง หรือ เล่นเกมส์ FPS ด้วยเม้าส์ และ คีย์บอร์ด เลย จากการที่แทร็คแพดทั้ง 2 ข้าง และ Gyros ทำงานพร้อมกัน ทำให้ไม่ว่าเกมส์ไหน ๆ คุณก็สามารถเล่นได้อย่างเต็มที่

 

 

Gyros นั้นยังมีประโยชน์แทบจะเทียบได้กับเม้าส์เลยทีเดียว ยกตัวอย่างก็เช่น เกมส์ Typing Of The Dead Overkill เป็นเกมส์ดั้งเดิมที่ต้องเล่นโดยใช้เม้าส์ ถูกวางจำหน่ายครั้งแรกบน Nintendo Wii และ เล่นด้วย จอยเกมส์ที่มี IR pointer แต่สำหรับ Steam Controller ไม่จำเป็นต้องใช้ IR pointer เพียงแค่มี Gyros ก็สามารถเล่นเกมส์นี้ได้ง่ายกว่าใช้จอยของ Wii เสียอีก

 

 

Gyro Lean คือ สิ่งที่ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก จนกระทั่งได้ลองใช้ในเกมส์ ระบบ Gyros ใน Steam Controllers ตอนนี้ มีจำกัดแค่ 2 แกน ซึ่งหมายถึงคุณสามารถใช้ Gyros แทนเม้าส์ หรือ จอยสติ๊กได้ แต่คุณไม่สามารถใช้มันเพื่อหมุนแกนในเวลาเดียวกัน แต่ด้วยการปรับแต่ง Gyro Lean นั้น คุณจะสามารถเอียงคอนโทรลเลอร์จากอีกด้าน ไปอีกด้านได้ โดยการสั่งงานด้วยปุ่มกด

ส่วนเกมส์ที่มีระบบ Lean Function เป็นเกมส์แรก ๆ ได้แก่เกมส์ Dishonored คุณสามารถหลบเข้าที่กำบังต่าง ๆ ได้ และ เมื่อคุณเอียงจอย ตัวละครจะเหลือบมองออกมาจากที่กำบัง แล้วใช้ Trackpads ( แป้นสัมผัส ) เพื่อยิงศัตรู และ เมื่อคุณใช้วิธีนี้กับจอยเกมส์ทั่วไป คุณอาจจะต้องใช้ถึง 3 มือ หรือ 7 นิ้ว ในการใช้งานระบบนี้ ตัวเลือกนี้สามารถปรับแต่งได้ ในการปรับแต่งตั้งค่าขั้นสูง จะอยู่ด้านขวามือของเมนูการตั้งค่า Gyros ซึ่งมันถูกเรียกว่า Gyro lean point

 

Steam Controller โชว์การใช้งานรูปแบบ Gyro Lean

 

ส่วนมากระบบ Gyros จะถูกใช้บ่อยในเกมส์ประเภทรถแข่ง เมื่อจอยได้รับการตั้งค่า Gyro มันแสดงให้เห็นว่า การตั้งค่า คุณสามารถตั้งค่าได้เฉพาะแกนแนวนอนเท่านั้น ซึ่งมันจะเป็นผลดี ช่วยให้คุณเล่นเกมส์แข่งรถได้แบบไม่เสียสมาธิ หรือ หงุดหงิด กับมัน คุณต้องการแค่การเอียงจอยเท่านั้น ในการเล่นเกมส์แข่งรถแบบ Mario Kart ใน Wii เพื่อบังคับรถไม่ให้ส่ายไปมาโดยที่ความเร็วไม่ลดลง

Gyro enable button คือ ปุ่มที่คุณต้องเปิด เพื่อใช้งานการควบคุม Gyro ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเล่นเกมส์แนว FPS ที่สามารถยกศูนย์ปืนขึ้นมาเล็งได้ คุณสามารถตั้งค่า Gyro enable button ไว้ที่ปุ่ม LT แบบ Soft Pull ในตอนนี้ Gyros จะทำงานเฉพาะเวลาที่คุณยกศูนย์ปืนขึ้นเล็งเท่านั้น หรือ อีกแบบนึงคุณสามารถตั้งค่าไว้ที่แทร็คแพด ด้านขวาก็ได้ ในกรณีนี้ คุณสามารถหยุดการทำงานของ Gyros ได้ กรณีที่ไม่ได้เล็งศัตรู ให้คุณลองจินตนาการดู เมนูบางเกมส์จะดูหยาบ ๆ ทำให้ไม่น่าใช้เม้าส์ในการควบคุม

นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณสามารถปรับการเอียง หรือ แกนของคุณได้ โดยการใช้แทร็คแพด ปรับแต่งตำแหน่งของคุณทางกายภาพ ซึ่งจะต้องเจอปัญหา Gyro Drift แบบเลี่ยงไม่ได้ Drift นั้นหมายถึง ไม่ว่าคุณจะทำอะไร แกนมันจะกลับมาไม่ตรงตำแหน่งเดิมในบางครั้ง ซึ่งเจอได้ทั่วไปในอุปกรณ์ที่มีระบบ Gyro

 

Steam Controller With High Precision Camera Aim

 

หน้าก่อนหน้า                      หน้าถัดไป

 

Share This